ประวัติโรงเรียน



 โรงเรียนเทพวิทยา   เดิมชื่อว่า "โรงเรียนประชาบาล  ตำบลลาดพร้าว  "(เทพบำรุง)" 
เปิดเรียนที่บ้าน  นายแช่ม ยศทัพ    ริมคลองลาดพร้าว  เป็นอาคารชั่วคราวทรงปั้นหยามุงจาก
กว้าง ๗ วา  ยาว ๗   วา   เปิดเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  กับชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒    เมื่อ
วันที่   ๒๗   เดือนกันยายน   พุทธศักราช   ๒๔๗๗   มีนักเรียนทั้งหมด  ๔๒  คน  คร ู ๒  คน
นายย้วย   เครือคล้าย   เป็นครูใหญ่  และ นายบุญมี ฤทธิรงค์ เป็นครูน้อยพุทธศักราช ๒๔๘๑
หลวงเทพเสนา กำนันตำบลลาดพร้าวได้สร้างอาคารเรียนทรงปั้นหยา มีมุขกลางกว้าง ๗เมตร   ยาว   ๑๒  เมตร   มุงจาก   ราคา  ๑,๒๐๐ บาทในที่ดินของตนเองริมคอสะพานคลองลาดพร้าว บ้านวังหิน   และยกอาคารเรียนพร้อมที่ดิน  ๑  ไร่  ให้ทางราชการวันที่   ๑๕  เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑ เวลา ๑๔.๓๐  นาฬิกา   ได้ทำพิธีเปิดเรียน   โรงเรียนบ้านวังหินเทพบำรุง) โดยข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นประธานพิธี



แผนที่ตั้งโรงเรียนเทพวิทยา
พุทธศักราช ๒๔๘๖ - ๒๔๘๗ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารได้มาพักอาศัยชั่วคราว
ทำให้อาคารทรุดโทรม
พุทธศักราช ๒๔๙๐ทางราชการได้เปลี่ยนหลังคาจากมุงจากเป็นหลังคากระเบื้อง
พุทธศักราช ๒๔๙๖ - ๒๔๙๘คณะครูและประชาชน ร่วมกันซื้อสังกะสีมุงหลังคา เป็นเงิน ๔,๖๐๐ บาท
พุทธศักราช ๒๔๙๙กระทรวงศึกษาธิการให้งบประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท และ
ผู้ปกครองบริจาคอีก ๓๓,๐๐๐ บาทสร้างอาคารใหม่แทน          ที่เดิม ทรงปั้น หยา กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๑ เมตร


นายย้วย  เครือคล้าย

มอบที่ดินให้กรุงเทพมหานคร
          เดือนพฤศจิกายน ๒๕๐๓ นายย้วย เครือคล้าย ยกที่ดินให้ ๒ ไร่ และขอที่ดินเดิม ๑ ไร่คืน ต่อมาที่ดินถูกตัดทำถนนเสีย   ๑   งาน   ๘๗   ตารางวา  จึงเหลือเพียง ๑ ไร่ ๒ งาน ๑๓ ตารางวา ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๐
วันที่ ๑ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕
           นายผัน โตสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายย้วย เครือคล้าย ซึ่งเกษียณอายุราชการ

วันที่ ๑ เดือนตุลาคมพุทธศักราช ๒๕๐๙
           ย้ายสังกัดจากกรมสามัญศึกษามาขึ้นกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนคร

เดือน ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑
           องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนคร สร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ซ.๔ นาด ๘.๕๐ r ๓๖ เมตร ราคา ๑๕๐,๐๐๐ บาท

เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓
           เปิดเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๑ ห้องเรียน

เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๔
           สร้างอาคารเรียนแบบตึกพิเศษของกรมโยธาเทศบาล ขนาด ๓๐ r ๙ เมตร ด้วยเงินงบประมาณ ราคา ๔๐๐,๐๐๐ บาท และได้ต่อเติมกั้นฝาห้องชั้นล่าง เมื่อเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๖

วันที่ ๒๓ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๔
           นายย้วยเครือคล้ายขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนเทพวิทยา" ได้รับอนุญาตตามหนังสือที่ กท ๕๖/๓๓๔๑ ลงวันที่ ๓๑ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๑

เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕
           สังกัดกรุงเทพมหานครตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕

เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๖
           ร้างอาคารเรียนแบบตึกพิเศษของกรมสามัญศึกษา ๒ ชั้น ๘ ห้องเรียน ขนาด ๓๓ ๙ เมตร ราคา ๕๕๐,๐๐๐ บาท

วันที่ ๑๒ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๐
           นายย้วย เครือคล้าย ได้ทำการโอนโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๙๓๒๑ เลขที่ดิน ๑๗๘๕ ตำบลลาดพร้าว อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร มูลค่า ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้กับโรงเรียน

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑
           ได้รับงบประมาณ ๒๒๐,๓๖๐ บาท สร้างรั้วอิฐบล็อกถาวร ๓ ด้าน สูง ๒ เมตร ยาว ๑๑๖.๒๐ เมตร

วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒
           สร้างส้วมก่ออิฐ ๖ ที่นั่ง

ปีงบประมาณ ๒๕๒๐
           สร้างตึก ๔ ชั้น ใต้ถุนโล่ง สร้างแล้วเสร็จและมอบงานเมือวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ พร้อมโต๊ะม้านั่งเดี่ยว ของนักเรียน ๗๑๕ ชุด โต๊ะครู ๙ ชุด ในวงเงิน ๓,๙๑๕,๐๐๐ บาท กลับไปสารบัญ

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๕
           แต่งตั้ง นางอุษา ทวิพัฒน์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่

วันที่ ๒๗ เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗
           แต่งตั้ง นายประภาส ศรีวรพงษ์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน นางอุษา ทวิพัฒน์ ซึ่งย้ายไปโรงเรียนวัดบางเตย

ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙

           ได้รับงบประมาณ ๓,๙๑๕,๐๐๐ บาท สร้างอาคารถาวรแบบ ๘๕๐ กทม. เป็นตึก ๔ ชั้น ใต้ถุนโล่ง ขนาด ๑๖ ห้องเรียน กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒ เมตร โดยขออนุมัติขายอาคารถาวร ๒ หลังเดิมออก ตามคำสั่ง ๓๐๐๓/๕๙๔๒ ลงวันที่ ๒๘ เดือน กรกฎาคม ๒๕๒๙ เป็นเงิน ๓๔,๙๐๐ บาท

ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙
           ได้รับงบประมาณ ๔,๑๖๐,๐๐๐ บาท ให้สร้างอาคารแบบมาตรฐาน ส.น.ส. ๒๖๔ เป็นตึก ๔ ชั้น ขนาด ๑๖ ห้องเรียน กว้าง ๘.๔๐ เมตร ยาว ๓๖ เมตร

วันที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๐
           สร้างอาคารเรียนตึก ๔ ชั้น ๑๖ ห้องเรียน แบบมาตรฐาน สนศ. ขนาด ๘.๔๐ r ๓๖.๐๐ ด้วยงบประมาณปี ๒๕๒๙ เป็นเงิน ๔,๑๖๐,๐๐๐ บาท

วันที่ ๗ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔
           แต่งตั้ง นายจรัญ มีสุนทร มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน นายประภาส ศรีวรพงษ์ ซึ่งเกษียณอายุราชการ

วันที่ ๒๗ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕                                รื้ออาคารเรียนแบบตึกพิเศษของกรมสามัญศึกษาและสร้างอาคารเรียนตึก ๔ ชั้น แบบมาตรฐาน ส.น.ส. ราคา ๖,๓๐๗,๖๕๐ บาท รับมอบงานวันที่ ๒๕ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ ก่อสร้างโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระเนรมิต

วันที่ ๑๘ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗
           สร้างที่ดื่มน้ำนักเรียนแบบ ศอ. ๑๓๔ ขนาด ๑๐ ก๊อก ๑ แห่ง เป็นเงิน ๓๔,๑๐๐ บาท สร้างรั้วคอนกรีตบล็อกต่อจากรั้วเดิมสูง ๐.๘๐ เมตร แบบ ศอ. ๑๘๔ ด้านหลังโรงเรียนยาว ๖๔ เมตร เป็นเงิน ๒๘,๘๐๐ บาท

เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
           ปรับปรุงทาเท้า ค.ส.ล. เนื้อที่ประมาณ ๑๓๒ เมตร และซ่อมปรับปรุงห้องน้ำ ห้องส้วมนักเรียน ๒ หลัง เป็นเงิน ๓๓๑,๐๐๐ บาท

เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
           ปรับปรุงอาคารเรียน ทาสีพลาสติกและสีน้ำมัน อาคาร ๓ จำนวน ๑๐ ห้องเรียน งบกู้ธนาคารโลก ในวงเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท

วันที่ ๑ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
           นายวิชัย  เฟื่องฟู ได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงเรียนแทน นายจรัญ มีสุนทร ซึ่งเกษียณอายุราชการ ปรับปรุงทาสีอาคาร ปรับพื้นห้องเรียน ๓ ซ.ม. จากเขตลาดพร้าว
เทพื้นคอนกรีต สนาม ๖๔๐ เมตร มีเกิดปัญหาเพราะสภาพดิน ฟ้า อากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้สภาพสนามท ี่เทคอนกรีตมีปัญหา

วันที่ ๑๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
           นายวิชัยเฟื่องฟู ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลาดพร้าว

วันที่ ๑๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
           นางจินตนา ศรีทาได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียน เทพวิทยา ได้เสนอสำนักงาน เขต ลาดพร้าวให้ทำการแก้ไขสภาพสนามที่มีปัญหา ได้รับการ อนุมัติปรับปรุง สนาม ใหม่เมื่อ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๕ โดยแก้ปัญหาที่เกิด ขึ้นให้ปรับสภาพ
สนามและท่อระบาย น้ำให้อยู่ใน สภาพที่เรียบร้อย

วันที่ ๒๘ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
           ได้ทำการสร้างห้องเกียรติประวัติ และมีลักษณะพิเศษคือ เป็นการสร้างที่เน้นวิถีชีวิตความ
เป็นไทย ให้สอดคล้องกับชื่อโรงเรียนที่ได้รับการบริจาคจากหลวงเทพเสนา ซึ่งเป็นคหบดีของชาติ
ิไทยคนหนึ่งที่แลเห็นความสำคัญของการศึกษา โดยบริจาค ที่ดินให้สร้างโรงเรียน และมีประวัติ
ความเป็นมาน่าศึกษาเป็นพิเศษกว่าโรงเรียนอื่น ๆ ที่โดยมากจะเป็นพื้นที่ของวัดบริจาคให้ ห้อง
เกียรติประวัติ ได้ สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ ภายใน
ห้องเกียรติประวัติของ โรงเรียนเทพวิทยา จะบรรจุเกี่ยวกับเนื้อหา เกี่ยว กับประวัติ ความเป็นมา
ของโรงเรียนและรูปถ่ายของบรรพบุรุษ ตั้งแต่หลวงเทพเสนาที่ได้บริจาคที่ให้แก่โรงเรียน ครูย้วย เครือคล้าย ครูใหญ่คนแรก และเป็นบุตรของหลวงเทพเสนา คุณป้าวิรัตน์ เขียวชะอุ่ม (เครือคล้าย) บุตรสาวของครูย้วย เครือคล้าย รูปถ่ายหลวงพ่อพระครูวิมลวิหารกิจ (เจ้าอาวาส วัดลาดปลาเค้า) อีกมุมหนึ่งเป็นพระบรมสาธิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า และพระบาทสม เด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอุดลยเดช ซึ่งเป็น พระมหากษัตริย์ที่ส่งเสริมปฏิรูปการศึกษาของชาติไทย มุมประเพณ ีประจำโรงเรียนในเขตลาดพร้าว คือ การอุปสมบทหมู่จะจัดเครื่องบวชไว้ อีกมุม หนึ่ง จะมีถ้วยรางวัล โล่ ที่ได้รับจากการ เข้าร่วม กิจกรรมต่าง ๆ เช่น ด้านกีฬา การแข่งขันทางวิชาการมุมประวัติโรงเรียน มุมทำเนียบผู้บริหารสมัยต่าง ๆ